ระบบบุคลากร

แผนกบุคคล

ขั้นตอนที่ 1

การเสนอแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งาน
แนวทางเลือกเพื่อนำระบบใหม่มาใช้งาน โดยจะบอกถึงรายระเอียดของระบบที่จะพัฒนามีดังนี้
โดยมีแนวทางเลือกจานวนทั้งสิน 2 ทางเลือก

    1.จ้างบริษัทภายนอกพัฒนา2.ซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูป 

ทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้ที่ดี

การเสนอแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งาน
ทางเลือกที่ 1 : จ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ มีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้


ลำดับ

ความต้องการในระบบ
แนวทางเลือกทั้ง 2 แนวทางในการจัดการระบบการสั่งจอง
จ้างบริษัทติดตั้งระบบ A
จ้างบริษัทติดตั้งระบบ B


ความต้องการที่คาดว่าจะได้รับ
1.
หน้าที่การทำงาน
สามารถพัฒนาระบบได้ตามข้อกำหนดและความต้องการของบริษัท
สามารถพัฒนาระบบได้ตามข้อกำหนดและความต้องการของบริษัท
2.
ความยืดหยุ่น
ปรับแต่งได้ตามต้องการ โดยไม่กระทบกับองค์กร และสามารถพัฒนาต่อได้
ปรับแต่งได้ตามต้องการ โดยไม่กระทบกับองค์กร และสามารถพัฒนาต่อได้


เงื่อนไข
1.
ต้นทุน/ค่าบำรุงรักษาระบบ
54,000
50,000
2.
การบริการหลังติดตั้ง
ติดตั้งและฝึกอบรมการใช้งาน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ติดตั้งและฝึกอบรมการใช้งาน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
3.
คู่มือประกอบการใช้งาน
มีคู่มือการใช้งานและให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ หรือ e-mail
มีคู่มือการใช้งานและให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ หรือ e-mail
4.
ระยะเวลาการติดตั้ง
40  วัน
30  วัน

การประเมินแนวทางเลือกที่ 1
ทางทีมงานได้ทาการประเมินผลแนวทางเลือกว่าจ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบที่เหมาะสม โดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
น้ำหนักเท่ากับ 4                 ช่วงคะแนน         100-90   เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดีมาก
น้ำหนักเท่ากับ 3                 ช่วงคะแนน         89-70     เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดี
น้ำหนักเท่ากับ 2                 ช่วงคะแนน         69-50     เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ พอใช้
น้ำหนักเท่ากับ 1                 ช่วงคะแนน         49-30     เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ปรับปรุง

ทีมงาน/ซอฟต์แวร์
เปรียบเทียบการใช้น้ำหนัก (คะแนนเต็ม 10 )
จ้างบริษัทติดตั้งระบบ A
จ้างบริษัทติดตั้งระบบ B
นักวิเคราะห์ระบบ
2
3
โปรแกรมเมอร์ 1
2
2
โปรแกรมเมอร์ 2
2
3
รวม
6
8
คิดเป็นเปอร์เซ็นต์
60%
80%
เกณฑ์ที่ได้
ดี
ดีมาก

สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 1
สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกและคัดเลือกว่าจ้างบริษัทติดตั้งระบบ B มาใช้งาน เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด

ทางเลือกที่
 2 : การจัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูป มีรายละเอียดดังตาราง


ลำดับ

ความต้องการในระบบ
แนวทางเลือกทั้ง 2 แนวทางในการจัดการระบบการสั่งจอง
หาซื้อ Software A
หาซื้อ Software B


ความต้องการที่คาดว่าจะได้รับ
1.
หน้าที่การทำงาน
สามารถพัฒนาระบบได้ตามข้อกำหนดและความต้องการของบริษัท
สามารถพัฒนาระบบได้ตามข้อกำหนดและความต้องการของบริษัท
2.
ความยืดหยุ่น
ปรับแต่งได้ตามต้องการ โดยไม่กระทบกับองค์กร
ไม่สามารถปรับแต่งได้ตามต้องการ โดยไม่กระทบกับองค์กร


เงื่อนไข
1.
ต้นทุน/ค่าบำรุงรักษาระบบ
69,000
58,000
2.
การบริการหลังติดตั้ง
ติดตั้งและฝึกอบรมการใช้งาน   โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ติดตั้งและฝึกอบรมการใช้งาน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
3.
คู่มือประกอบการใช้งาน
มีคู่มือการใช้งานและให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ หรือ e-mail
มีคู่มือการใช้งานและให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ หรือ e-mail
4.
ระยะเวลาการติดตั้ง
35  วัน
30  วัน

การประเมินแนวทางเลือกที่
2
ทางทีมงานได้ทาการประเมินผลแนวทางเลือก Software ที่เหมาะสม โดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
น้ำหนักเท่ากับ 4                 ช่วงคะแนน         100-90   เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดีมาก
น้ำหนักเท่ากับ 3                 ช่วงคะแนน         89-70     เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดี
น้ำหนักเท่ากับ 2                 ช่วงคะแนน         69-50     เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ พอใช้
น้ำหนักเท่ากับ 1                 ช่วงคะแนน         49-30     เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ปรับปรุง

ทีมงาน/ซอฟต์แวร์
เปรียบเทียบการใช้น้ำหนัก (คะแนนเต็ม 10 )
Software  A
Software B
นักวิเคราะห์ระบบ
3
3
โปรแกรมเมอร์ 1
2
2
โปรแกรมเมอร์ 2
2
4
รวม
7
9
คิดเป็นเปอร์เซ็นต์
70%
90%
เกณฑ์ที่ได้
ดี
ดีมาก

สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 2
สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกและคัดเลือกซื้อ Software B มาใช้งาน เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด

เปรียบเทียบแนวทางเลือกทั้ง
2
ผลจากการพิจารณาแนวทางเลือกของทีมงานจากทั้งสองแนวทาง จะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของผู้บริหารเพื่อพิจารณาเลือกแนวทางตามที่ได้นำเสนอจากทีมงานพัฒนา พร้อมข้อเสนอแนะในแต่ละแนวทางเลือกหลักทั้งสอง โดยมีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้


ลำดับ

ความต้องการในระบบ
แนวทางเลือกทั้ง 2 แนวทางในการจัดการระบบการสั่งจอง
หาซื้อ Software B
จ้างบริษัทติดตั้งระบบ B


ความต้องการที่คาดว่าจะได้รับ
1.
หน้าที่การทำงาน
สามารถพัฒนาระบบได้ตามข้อกำหนดและความต้องการของบริษัท
สามารถพัฒนาระบบได้ตามข้อกำหนดและความต้องการของบริษัท
2.
ความยืดหยุ่น
ไม่สามารถปรับแต่งได้ตามต้องการ โดยไม่กระทบกับองค์กร
ปรับแต่งได้ตามต้องการ โดยไม่กระทบกับองค์กร และสามารถพัฒนาต่อได้


เงื่อนไข
1.
ต้นทุน/ค่าบำรุงรักษาระบบ
58,000
50,000
2.
การบริการหลังติดตั้ง
ติดตั้งและฝึกอบรมการใช้งาน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ติดตั้งและฝึกอบรมการใช้งาน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
3.
คู่มือประกอบการใช้งาน
มีคู่มือการใช้งานและให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ หรือ e-mail
มีคู่มือการใช้งานและให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ หรือ e-mail
4.
ระยะเวลาการติดตั้ง
30  วัน
30  วัน

ข้อเสนอแนะแนวทางเลือกทั้ง  2  แนวทาง
แนวทางเลือกที่ 1 การจัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จระบบB
ข้อดี ระบบ มีความสามารถพัฒนาระบบได้ตรงตามข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคและความต้องการ ของบริษัทที่ได้จัดทำไว้ราค่ามาต้นทุน/ค่าบำรุงรักษาระบบไม่สูงมากนัก
ข้อเสีย ระบบไม่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการแต่ก็ไม่กระทบองค์กรใช้ระยะเวลาในการติดตั้งและฝึกอบรมการใช้งานนาน

แนวทางเลือกที่ 2 การว่าจ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ B
ข้อดี ระบบ มีความสามารถพัฒนาระบบได้ตรงตามข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคและความต้องการ ของบริษัทที่ระบบยังมีความยืดหยุ่นในปรับแต่งได้ตามความต้องการโดยไม่กระทบ องค์กรสามารถพัฒนาไปยังอนาคตข้างหน้าได้ใช้ระยะเวลาติดตั้งและฝึกอบรมการใช้งานน้อย
ข้อเสีย ราค่าต้นทุน/ค่าบำรุงรักษาระบบค่อนค้างสูง

ผู้บริหารเลือกแนวทางที่ดีที่สุด
หลังจากหัวหน้าทีมงานได้เสนอแนวทางเลือก โดยจัดทำข้อมูลเปรียบเทียบและข้อเสนอแนะแก่ทีมผู้บริหาร โดยใช้กฎเกณฑ์การให้น้าหนัก (คะแนน) ดังตารางต่อไปนี้

ทีมงาน/ซอฟต์แวร์
เปรียบเทียบการใช้น้ำหนัก (คะแนนเต็ม 10 )
Software B
จ้างบริษัทติดตั้งระบบ B
นักวิเคราะห์ระบบ
2
3
โปรแกรมเมอร์ 1
2
2
โปรแกรมเมอร์ 2
2
3
รวม
6
8
คิดเป็นเปอร์เซ็นต์
60%
80%
เกณฑ์ที่ได้
ดี
ดีมาก

สรุปผลการประเมินโดยทีมงานผู้บริหาร
ทางทีมงานผู้บริหารได้พิจารณาตัดสินใจเลือกแนวทางการว่าจ้างบริษัทติดตั้งระบบ B เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุดนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานแม้ว่าราค่าค่าติดตั้งจะค่อนค้างสูงแต่ก็มีความคุ้มค่าในการลงทุนแล้วแล้วยังสามารถพัฒนาไว้ใช้งานในระยะยาว


ขั้นตอนที่ 2
การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
เป้าหมาย
นำระบบสาระสนเทศเพื่อการบริหารงานขายมาใช้งานในบริษัทเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า

วัตถุประสงค์
โครงการพัฒนาระบบการสั่งจองมีวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน เพื่อวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาให้เป็นระบบงานบุคคลที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ

ขอบเขตของระบบ
โครงการพัฒนาระบบการสั่งจองได้มีการจัดทำขึ้นโดยการจ้างบริษัท B มารับผิดชอบโครงการ พร้อมกันนี้ได้กำหนดขอบเขตของระบบนี้มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
-  ระบบจะต้องใช้งานง่ายและสะดวก
-  ระบบจะต้องแบ่งการทำงานอย่างชัดเจน แต่ข้อมูลสามารถเชื่อมโยงกันได้
-  ระบบจะต้องมีความถูกต้องและแม่นยามากที่สุด
-  ระบบจะต้องรองรับการทำงานแบบ Multi-User ได้
-  ระบบจะต้องเกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุดต่อการทำงาน

ปัญหาที่พบจากระบบเดิม
-   ยากต่อการหาข้อมูล
-   การเก็บรวบรวมข้อมูลของพนักงานและการค้นหาข้อมูลของพนักงานเกิดความซ้ำซ้อน
-   ข้อมูลที่ได้ไม่มีความชัดเจนและแน่นอน
-   การทำงานของพนักงานแต่ละฝ่ายไม่มีความแน่นอน
-   เนื่องจากเป็นระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลอยู่ตลอดเวลาทาให้ข้อมูล เกิดความเสียหายและสูญหายได้

ความต้องการในระบบใหม่            ความต้องการในระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้ คือ ความรวดเร็วของระบบใหม่ ในการทำงาน
-  สามารถเก็บ และตรวจสอบข้อมูลพนักงานได้
-  สามารถเพิ่ม แก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลของพนักงานได้
-  สามารถรับสมัครพนักงานผ่านระบบงานออนไลน์ได้
-  การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานทุกฝ่าย เช่น บัญชี สามารถคำนวณเงินเดือนพนักงานได้

ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบใหม่
-  บริษัทมีผลการดำเนินการที่ดีขึ้น
-  ขั้นตอนการทำงานของระบบในบริษัทที่มีความรวดเร็ว
-  ขั้นตอนการรับสมัครพนักงานมีความถูกต้องชัดเจนและรวดเร็วในการทำงาน
-  สามารถจัดเก็บข้อมูลพนักงานทำให้การรวดเร็วและถูกต้อง
-  การทำงานของพนักงานเป็นระบบและมีประสิทธิภาพสะดวกสบายในการตรวจเช็คข้อมูล

แนวทางในการพัฒนา
      การพัฒนาระบบของเป็นการพัฒนาระบบในส่วนของแผนกบุคคลการทำงานของพนักงานในแต่ละหน้าที่ซึ่งบางครั้งการทำงานขั้นตอนต่างๆ อาจจะมีเอกสารหรือข้อมูลที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน ดังนั้นจึงได้มีการวิเคราะห์ระบบใหม่เพื่อความสะดวกและมีประสิทธิภาพในการทำงาน เมื่อพิจารณาถึงขั้นตอนการดำเนินงานให้เหมาะสมกับบริษัทแล้วสามารถแบ่งได้ ทั้งหมด  7  ขั้นตอน
1. การค้นหาและเลือกสรรโครงการ
2. การเริ่มต้นและการวางแผนโครงการ
3. การวิเคราะห์ระบบ
4. การออกแบบเชิงตรรกะ
5. การออกแบบเชิงกายภาพ
6. การพัฒนาและติดตั้งระบบ
7. การซ่อมบำรุงระบบ


ขั้นตอนที่การค้นหาและเลือกสรรโครงการ

เป็นขั้นตอนในการค้นหาโครงการเพื่อพัฒนาระบบใหม่ให้เหมาะสมกับระบบเดิมหรือให้เหมาะสมกับองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือต้องการระบบเพื่อนำมาใช้ในการบริหารงานในส่วนที่เกิดความบกพร่องของบริษัท เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดในการทำงานขององค์กร
ดังนั้นจึงได้ยกตัวอย่างบริษัทที่ต้องการพัฒนาระบบข้อมูลดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นในส่วนของระบบที่ต้องการแก้ไขคือ
-  การจัดเก็บข้อมูลพนักงาน
-  การรับสมัครพนักงาน
-  การคำนวณเงินเดือนสุทธิของพนักงาน


ขั้นตอนที่การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ

              เป็นขั้นตอนในการเริ่มต้นทำโครงการด้วยการเริ่มต้นจัดตั้งทีมงาน ซึ่งเราจะต้องกำหนดหน้าที่ให้กับทีมงานแต่ละคนอย่างชัดเจนเพื่อร่วมกันสร้างแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งานและนอกจากขั้นตอนดังกล่าวแล้วยังมีขั้นตอนอื่นอีกมากที่เกี่ยวข้องซึ่งเราสามารถสรุปกิจกรรมในขั้นตอนนี้
ได้ดังนี้
-  ก่อนเริ่มทำโครงการเราควรศึกษาระบบเดิมในการทำงานก่อน แล้วค่อยเริ่มต้นทำโครงการ
-  กำหนดวัตถุประสงค์หรือทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้
-  วางแผนการทำงานของระบบใหม่


ขั้นตอนที่การวิเคราะห์

1. ศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบเดิม ดูว่าการทำงานของบริษัท มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างไรและเหตุใดจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบเดิมและระบบที่เปลี่ยนแปลงนี้จะเปลี่ยนในส่วนของระบบการสั่งจองสินค้า
2. การรวบรวมความต้องการในระบบใหม่จากผู้ใช้ระบบศึกษาหรือสอบถามข้อมูลของระบบเดิมจากพนักงานหรือผู้ใช้ระบบ
3. จำลองแบบความต้องการที่รวบรวมได้ เมื่อเรารวบรวมข้อมูลมาได้แล้วก็สามารถออกแบบจำลองดังกล่าวได้ด้วยวิธีการใดก็ได้ที่นักวิเคราะห์ระบบนำมาใช้ในการทำงานของระบบ 

ขั้นตอนที่การออกแบบเชิงตรรกะ

เป็นขั้นตอนในการออกแบบขั้นตอนการทำงานของระบบในแต่ละส่วนงานหรือแต่ละแผนกของงาน ซึ่งในการออกแบบระบบ ระบบงานที่ได้ในแต่ละส่วนจะไม่เหมือนกัน ซึ่งอาจจะมีแบบฟอร์มหรือผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเราวิเคราะห์กระบวนการเสร็จเรียบร้อยแล้ว


ขั้นตอนที่ 5การออกแบบเชิงกายภาพ

ในขั้นตอนนี้เป็นการทำงานของระบบในส่วนของเทคนิคของโปรแกรมหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงระบบอาจจะเป็นระบบเครือข่ายฐานข้อมูลโปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อให้ผู้ใช้งานระบบสามารถเข้าใจขั้นตอนการทำงานมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่ได้ในส่วนนี้จะเป็นแค่การออกแบบหลังจากนั้นจะทำการส่งให้โปรแกรมเมอร์ต่อไป


ขั้นตอนที่การพัฒนาและติดตั้งระบบ

ขั้นตอนนี้จะนำข้อมูลเฉพาะในส่วนที่ต้องการออกแบบของระบบมาทำการเขียนโปรแกรม เพื่อให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่ต้องการของระบบงานใหม่ อาจนำโปรแกรมที่เขียนสำเร็จรูปแล้วมาใช้งานในระบบก็ได้หลังจากเขียนโปรแกรมแล้วเราก็ควรทำการทดลองว่าโปรแกรมใช้งานได้เหมาะสมกับการทำงานของบริษัทหรือไม่ ซึ่งในขั้นตอนนี้มีกระบวนการทำงานดังนี้
1. เขียนโปรแกรม
2. ทดสอบโปรแกรม
3. ติดตั้งระบบ
4. จัดทาเอกสาร สรุปผลการทำงานของระบบ


ขั้นตอนที่การซ่อมบำรุงระบบ

อาจจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการปรับปรุงระบบ เพราะหลังจากได้ระบบใหม่มาแล้วเราก็นำเอาระบบที่ได้มานี้ทำการแก้ไขหากระบบที่ได้มาเกิดข้อผิดพลาด

ขั้นตอนที่ 3
การกำหนดความต้องการของระบบ

การกำหนดความต้องการของระบบ
เมื่อโครงการพัฒนาระบบได้รับการอนุมัติจากการนำเสนอโครงการในขั้นตอนที่ผ่านมา ดังนั้น จึงเริ่มต้นด้วยความการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบเดิม ในการกำหนดความต้องการครั้งนี้ ทีมงานเลือกใช้วิธีการออกแบบสอบถาม
1. ออกแบบสอบถาม
บุคคลผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้จัดการในแผนกบุคคลการใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลในส่วนที่ต้องการพัฒนา เนื่องจากทีมงานสามารถควบคุมหัวข้อคำถามที่ต้องการรายละเอียดได้มากกว่าการสัมภาษณ์ไม่รบกวนเวลาทำงานของผู้จัดการแต่ละแผนกมากนักสามารถเก็บข้อมูลได้มากตามการตั้งคำถามในแบบสอบถามอีกทั้งผู้ตอบแบบสอบถามจะรู้สึกมีอิสระในการให้ข้อมูล

ข้อมูลและเอกสารของระบบงานเดิมที่รวบรวมได้
จากการที่ทีมงานได้เก็บรวบรวมข้อมูลของระบบเดิม ด้วยวิธีการออกแบบสอบถาม สามารถสรุปข้อมูลที่ได้รับดังนี้
1.ข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของระบบเดิมทางบริษัทใช้ระบบเครือข่าย LAN ประกอบด้วย
1.1 เครื่องแม่ข่าย จานวน 1 เครื่อง ใช้ซอฟต์แวร์เครือข่าย Windows Server 2008
1.2 เครื่องลูกข่าย จานวน 20 เครื่อง ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 7 และซอฟต์แวร์สาหรับงานสานักงาน Microsoft Office 2010
        -              แผนกการขาย      ใช้ซอฟต์แวร์ Microsoft Excel ในการคำนวณยอดขายสินค้าของแต่ละวัน
                    -              แผนกคลังสินค้า   ใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูประบบตรวจเช็คสินค้า
                    -              แผนกบัญชี           ใช้ซอฟต์แวร์สำหรับงานบัญชี  และใช้ Microsoft Excel สำหรับคำนวณเงินยอดการสั่งซื้อ สั่งเบิกสินค้า
                                -              แผนกซ่อมบำรุง  ใช้ซอฟต์แวร์ Microsoft Excel ในการคำนวณยอดการเบิกจ่ายมาใช้ซ่อมบำรุง
1.3 อุปกรณ์ต่อพ่วง ได้แก่ เครื่องพิมพ์เลเซอร์จานวน 3 เครื่อง
              2. ความต้องการของระบบใหม่
                    -              ข้อมูลในระบบสามารถเชื่อมโยงไปยังแผนกอื่นๆได้ แต่จะต้องทำการเข้า Login ก่อน
                    -              เพิ่ม ลด แก้ไข ข้อมูลของพนักงานและผู้สมัครงานได้
                    -              สามารถค้นหาข้อมูลได้รวดเร็วและน่าเชื่อถือ

2. ความต้องการของผู้ใช้ในระบบใหม่
จากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ ทางทีมงานสามารถสรุปความต้องการในระบบใหม่ได้ ดังต่อไปนี้
                   -              ตรวจสอบข้อมูลปัจจุบันและข้อมูลย้อนหลังได้
                   -              สามารถเพิ่มเติม แก้ไขและเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้
                   -              เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน
                   -              ข้อมูลของแต่ละแผนกสามารถเชื่อมโยงกันได้
                               -              สามารถให้บริการแก่พนักงานได้อย่างรวดเร็ว

ขั้นตอนที่ 4
แบบจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ

Context Diagram



อธิบาย Context Diagram

การทำงานของ Context Diagram มีอยู่ทั้งหมด ส่วน ดังนี้
1. ฝ่ายบริหาร  ฝ่ายบริหารจะทำการเรียกดูการจ่ายเงิน และขอดูผลการสมัครผ่านระบบ และระบบจะส่งผลตอบกับไปยังฝ่ายบริหาร
2.พนักงาน  พนักงานฝ่ายบุคคลจะกรอกข้อมูลการทำงานของพนักงานในบริษัทเข้าสู่ระบบ และระบบ
จะทำเป็นรายงานส่งกลับมายังพนักงานฝ่ายบุคคล
3.การเงิน ทางการเงินจะขอดูค่าใช้จ่ายผ่านระบบและจะแจ้งอัตราการจ่ายเงินมาทางการเงิน
4.ผู้สมัคร  ผู้สมัครจะทำการกรอกใบสมัคร สัมภาษณ์งาน ข้อมูลจะส่งไปยังระบบและรอผลการตอบรับ

DFD-Level 0 : ระบบจัดการฝ่ายบุคคล 



อธิบาย DFD-Level 0 : ระบบจัดการฝ่ายบุคคล

Process1 Log in การเข้าสู่ระบบ พนักงานจะต้องทำการล็อกอินเพื่อเข้าสู่ระบบทุกครั้ง
Process2 ตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครจะกรอกใบสมัครเข้าสู่ระบบ ระบบจะทำการตรวจสอบข้อมูลและ ส่งผลไปยังฝ่ายบุคล และฝ่ายบุคคลจะทำการเก็บข้อมูลของพนักงาน
Process3 การสัมภาษณ์ ข้อมูลการสัมภาษณ์จะส่งถูกส่งไปยังฝ่ายบุคคล
Process4 คำนวณเงินเดือน ฝ่ายบุคคลจะกรอกข้อมูลการทำงานเข้าระบบสู่ระบบคำนวณเงินเดือน และระบบจะทำการส่งข้อมูลไปยังฝ่ายบุคลและรายงานผลให้ผู้บริหาร ฝ่ายบุคคลจะกรอกข้อมูลเข้าระบบ
และจะรายงานให้ผู้สมัคร
Process5 รายงานผลการสัมภาษณ์ ฝ่ายบุคคลจะส่งผลการสัมภาษณ์เข้าสู่ระบบ และระบบจะรายงานผลกลับไปให้ผู้สมัคร
Process6 รายงานผลการสมัคร ฝ่ายบุคคลจะกรอกข้อมูลเข้าสู้ระบบและจะรายงานผลกับไปให้ผู้สมัคร
Process7 จ่ายเงินเดือน ฝ่ายบุคคลแจ้งเงินเดือนของพนักงานให้กับฝ่ายการเงินโดยจะดูข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลและฝ่ายการเงินจะทาการบันทึกข้อมุลการจ่ายไปยังแฟ้มข้อมูล
Process8 รายงานผลการจ่าย ฝ่ายการเงินจะดึงข้อมูลการจ่ายจากแฟ้มข้อมูล และระบบจะทำการรายงานผลการจ่ายเงินเดือนไปยังฝ่ายบุคคล

DFD-Level 1 : ระบบจัดการฝ่ายบุคคล

Process 1 



DATA FLOW DIAGRAM LEVEL 1 : การสมัครงาน

อธิบายการทำงาน
ผู้สมัครกรอกข้อมูลลงใบสมัคร ระบบตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร และส่งข้อมูลไปยังฝ่ายบุคคล
ฝ่ายบุคคลจะรายงานผลการสมัครไปยังระบบและแจ้งผลไปยังผู้สมัคร 

Process 2



DATA FLOW DIAGRAM LEVEL 1 : การสัมภาษณ์งาน 

อธิบายการทำงาน
ผู้สมัครจะต้องเข้ารับการสัมภาษณ์  ระบบจะตรวจสอบการสัมภาษณ์ และส่งข้อมูลไปยังฝ่ายบุคคล  รายงานผลการสัมภาษณ์ไปยังระบบและแจ้งผลไปยังผู้สมัคร

Process 3



DATA FLOW DIAGRAM LEVEL 1 : รายงานเงินเดือน 

อธิบายการทำงาน
เมื่อพนักงานเข้าสู่ระบบ จะนาข้อมูลการเงินส่งเข้าระบบคำนวณเงินเดือนเพื่อหาอัตราการจ่ายเงินเดือน และส่งข้อมูลกลับไปยังฝ่ายบุคคล ฝ่ายบุคคลจะส่งอัตราการจ่ายเงินเดือนเข้าสู้ระบบการจ่ายเงิน และส่งข้อมูลการจ่ายไปยังฝ่ายการเงินเผื่อเก็บข้อมูลเข้าแฟ้มการเงิน ฝ่ายการเงินส่งผลการจ่ายเงินเดือนไปยังระบบรายงานผล และส่งข้อมูลกลับไปยังฝ่ายบุคคล

โครงสร้างฐานข้อมูล

ตาราง Staff  ใช้จัดเก็บข้อมูลพนักงาน มีโครงสร้างข้อมูลดังนี้


ตาราง User ใช้จัดเก็บข้อมูลของผู้เข้าใช้ระบบ มีโครงสร้างดังนี้


ตาราง Salary ใช้จัดเก็บข้อมูลเงินเดือน มีโครงสร้างดังนี้


ตาราง Applicant ใช้จัดเก็บข้อมูลการสมัครงาน มีโครงสร้างดังนี้


ER-Diagram

ระบบจัดการฝ่ายบุคคล



ขั้นตอนที่ 5


การออกแบบ USER INTERFACE


หน้าจอเข้าสู่ระบบการทำงาน


หน้าหลัก เพื่อเลือกหัวข้อ


ข้อมูลพนักงาน


ข้อมูลทางการเงินของพนักงาน

ขั้นตอนที่ 6
การพัฒนาและการติดตั้ง

ขั้นตอนนี้จะนำข้อมูลเฉพาะในส่วนที่ต้องการออกแบบของระบบมาทำการเขียน โปรแกรม เพื่อให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่ต้องการของระบบงานใหม่ อาจนำโปรแกรมที่เขียนสำเร็จรูปแล้วมาใช้งานในระบบก็ได้ หลังจากเขียนโปรแกรมแล้วเราก็ควรทำการทดลองว่าโปรแกรมใช้งานได้เหมาะสมกับการทำงานของบริษัทหรือไม่ ซึ่งในขั้นตอนนี้มีกระบวนการทำงานดังนี้
-   เขียนโปรแกรม
-   ทดสอบโปรแกรม
-   ติดตั้งระบบ
-   จัดทำเอกสาร สรุปผลการทำงานของระบบ

 ขั้นตอนที่ 7
การซ่อมบำรุงระบบ

ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการปรับปรุงระบบเพราะหลังจากได้ระบบใหม่มาแล้ว เราก็นำเอาระบบที่ได้มานี้ทำการแก้ไขหากระบบที่ได้มาเกิดข้อผิดพลาดแผนการดำเนินงานของโครงการ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น